วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

THESIS
สรุปงานวิจัย

เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
Science basic skill of young children engaged in experimental activity after story listening

ผู้วิจัย    ศศิพรรณ  สำแดงเดช (พฤษภาคม 2553 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
ความมุ่งหมายของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานก่อนและหลังการทดลอง
กลุ่มตัวอย่างในการใช้วิจัย
เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2552 โรงเรียนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล)  สำนักงานจอมทอง  กรุงเทพมหานคร
เครื่องมือในการทำวิจัย
1.แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังฟังนิทาน
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ มีความเชื่อมั่น .66
นิยามศัพท์
ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถเบื้องต้นที่เป็นพื้นฐานทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3 ด้านคือ
การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุสิ่งแวดล้อม สามารถตอบข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่างๆได้ อธิบายว่าสิ่งที่สังเกตได้เป็นอย่างไร บอกความเหมือนความต่างว่าสิ่งที่สังเกตได้เป็นอย่างไร
การจำแนก หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ โดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่ง มี 3 ประการ คือ ความเหมือน ความแตกต่างและความสัมพันธ์
การสื่อสาร หมายถึง  ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การทดลองหรือจากแหล่งอื่นที่มีข้อมูลอยู่แล้วมาจัดทำใหม่โดยอาศัยวิธีการต่างๆ คือ การสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ โดยมุ่งสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายดีขึ้น
การดำเนินกิจกรรม
ครูจะเล่านิทานให้เด็กๆฟัง เมื่อฟังนิทานจบ ครูก็ให้เด็กได้ทำกิจกรรมการทดลองที่เกี่ยวกับนิทานที่ฟังที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องที่ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยการทดลองเด็กจะเป็นผู้ลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยครูจะทำเป็นตัวอย่างก่อน
ทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ อังคาร พุธ  วันละ 30 นาที (8.30 – 9.00)
ยกตัวอย่าง  นิทานเรื่อง ครึ่งวงกลมสีแดง  กิจกรรมทดลอง เรือล่ม
ครูเล่านิทานเรื่องครึ่งวงกลมเสร็จ ให้เด็กทำกิจกรรมทดลอง
อุปกรณ์ กระดาษ  ลูกแก้วหรือดินน้ำมัน  อ่างใส่น้ำ
วิธีการทำ  1.  ครูสอนเด็กพับกระดาษเป็นรูปเรือ
                 2.นำเรือไปวางไว้บนผิวน้ำในอ่าง
                 3.ครูใช้คำถาม เรือลำนี้หนักหรือเบา ลอยน้ำหรือจมน้ำ ถ้าใส่ลูกแก้วทะละลูกเรื่อยๆ เด็กคิดว่า เรื่อลำนี้จะลอยให้จะจม
                  4.ให้เด็กค่อยหย่อนลูกแก้วหรือดินน้ำมันก้อนเล็กๆลงไปในเรือกระดาษที่ลอยน้ำอยู่ ทีละก้อนจนเรือจม
                  5.แล้วครูใช้คำถามว่า ทำไมเรือนี้ถึงจม ถ้าคนลงเรือมาก เรือจะเป็นอย่างไร
สรุป
                   ผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองการที่เด็กได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน หลังการทดลองเด็กมีการพัฒนาทางด้านทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี และเมื่อจำแนกความสามารถทางทักษะทางวิทยาศาสตร์ออกเป็นรายด้าน พบว่ามีการพัฒนาในระดับดีมากคือ ด้านการสังเกต ส่วนด้านการจำแนกและการสื่อสารอยู่ระดับดี เช่นกันนั้นอาจจะเป็นไปได้ที่การจัดกิจกรรมมีหลักการสำคัญคือเด็กต้องลงมือปฏิบัติและคิดขณะทำกิจกรรมในการจัดกิจกรรมเล่านิทานดังกล่าว เด็กได้ฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ไปด้วยและได้รับความสนุกสนานและไม่เครียด เป็นผลดีต่อการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทางสังคมของแบนดูรา ที่ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการสนใจมีผลต่อการรับรู้ ถ้าเด็กมีความสนใจจะเกิดการรับรู้ได้ดีกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน เป็นการทำกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการเล่านิทานเมื่อเด็กได้ฟังนิทานจนจบเรื่อง เด็กจะได้ทำการทดลองในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิทาน เช่น นิทานครึ่งวงกลมสีแดง เด็กจะทำการทดลองเรื่อง “เรือล่ม” อุปกรณ์ที่เด็กได้รับ คือ เรือกระดาษ ลูกแก้ว ดินน้ำมันอ่างใส่น้ำ เด็กได้พับเรือกระดาษแบบง่ายๆ และตอบคำถามว่าเรือลำนี้หนักหรือเบา ลอยน้ำหรือจมน้ำเด็กจะอธิบายว่า “ลอยน้ำได้มันเบา” เด็กลองนำเรือกระดาษลอยน้ำ เด็กได้สังเกตว่า เรือกระดาษลอยน้ำได้ จากนั้นเด็กทดลองใส่ลูกแก้วลงไปในเรือทีละคน เด็กตอบคำถามว่าถ้าใส่ลูกแก้วทีละลูกเรือจะจมหรือลอยน้ำ เด็กบางคนบอกจมเพราะใส่ลูกแก้ว เด็กบางคนบอกลอยได้เพราะเคยเห็นเรือบรรทุกของตั้งเยอะไม่เห็นจม จากนั้นเด็กๆลองใส่ลูกแก้วเรื่อยๆ เด็กบอกเรือยังลอยอยู่ (เพราะลูกแก้วยังจำนวนน้อยเมื่อใส่มากเข้าเรือจมต่อหน้าเด็กๆ ในการจัดกิจกรรมการทดลองดังกล่าว เป็นการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง จากกิจกรรมทำให้เด็กสังเกตขณะที่เรือลอยและเรือจม รู้จักการจำแนกหนัก –เบา และสื่อสารบอกได้ว่าเรือจมเพราะมีลูกแก้วเยอะ เด็กได้คิดและหาคำตอบในการทดลองโดยเด็กเป็นผู้ปฏิบัติเองจากสื่ออุปกรณ์ที่ครูจัดเตรียมไว้ในแต่ละกิจกรรม เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงโดยใช้ประสาทสัมผัสเข้าไปสังเกตสื่อและอุปกรณ์ต่างๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น