วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่13 
บันทึกอนุทิน
วันศุกร์ ที่ 14 เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ.2557
เวลาเรียน 13.10 น. - 16.40 น. 
เวลาเข้าเรียน 13.10 น.   เวลาเข้าสอน 13.10 น.   เวลาเลิกเรียน  16.40 น.




สิ่งที่ได้รับในวันนี้

กลุ่ม7 หน่วยแปรงสีฟัน (toothbrush) ประเภทของแปรงสีฟัน 

ขั้นนำ   ครูพาเด็กๆร้องเพลง "สวัสดีเธอจ้า สวัสดี ชื่นชีวี ยิ้มแย้มแจ่มใส มาพบกันวันนี้ แสนดีใจ รื่นเริงไป ร้องรำให้สำราญ" 
ขั้นสอน  ครูพาเด็กทองคำคล้องจอง ชนิดของแปรงสีฟัน
     แปรงสีฟันมีหลายชนิด     แต่ละชนิดมีดีต่างกัน
     แปรงสีฟันไฟฟ้านั้น          รวดเร็วพลันใช้ได้อย่างดี
     แปรงสีฟันผู้ใหญ่ก็มี         สะอาดดีเมื่อเราแปรงฟัน
ครูถามเด็กๆว่า ในคำคล้องจองมีแปรงชนิดไหนบ้าง
ขั้นสรุป  ครูและเด็กทบทวนเรื่องชนิดแปรงสีฟันและท่องคำคล้องจองอีกครั้ง


กลุ่ม 8 หน่วย ผีเสื้อ (Butterfly) ลักษณะของผีเสื้อ

ขั้นนำ ครูทักทายเด็กด้วยเพลง สวัสดีแบบไทย "สวัสดีแบบไทย ไทย แล้วก็ไปแบบสากล สวัสดีทุกๆคน แบบสากลแล้วก็แบบไทย"
ขั้นสอน  ครูท่องคำคล้องจองให้เด็กฟัง แล้วจากนั้นให้เด็กๆท่องตาม แล้วครูและเด็กๆก็ท่องพร้อมกัน แล้วครูก็ถามสิ่งที่อยู่ในคำคล้องจอง มีอะไรบ้าง แล้วเด็กๆ รู้จักที่อยู่นอกจากในคล้องจองอีกไหม
ครูนำเอารูปผีเสื้อสองภาพมาให้เด็กดูแล้วให้เด็กๆบอกส่วนที่เหมือนกัน และสิ่งที่ต่างกัน ครูบันทึกเป็นตาราง และวงกลม
ขั้นสรุป ครูและเด็กช่วยกันสรุปเรื่องลักษณะของผีเสื้อที่เป็นตารางและที่เป็นวงกลม


กลุ่มที่ 9  หน่วยกล้วย (Banana) ชนิดของกล้วย

ขั้นนำ  ครูทักทายเด็ก โดยการร้องเพลง "สวัสดีเธอจ้าสวัสดี ชื่นชีวียิ้มแย้มแจ่มใส  มาพบกันวันนี้แสนดีใจ รื่นเริงไปร้องรำให้สำราญ" จากนั้นครูก็ถามคำถามว่าเด็กรู้จักกล้วยชนิดไหนบ้างแล้วให้เด็กๆร้องเพลงกล้วย      กล้วยคือผลไม้                    ใครๆก็ชอบกินกล้วย
                        ค้างคาวช้างลิงฉันด้วย         กินกล้วยมีวิตามิน
                        ลัน ลา ลัน ลา ลัน ลา.....
ขั้นสอน  ครูนำภาพกล้วยมาให้เด็กๆดูแล้วถามเด็กว่า คือกล้วยอะไรบ้าง แล้วนำภาพกล้วยไปติดบนกระดาษ ให้แบ่งออกเป็น2ชนิด กล้วยหอม และกล้วยที่ไม่ใช่กล้วยหอม แล้วนับจำนวนหนึ่งต่อหนึ่งเพื่อเปรียบเทียบจำนวน มากกว่า น้อยกว่า
ขั้นสรุป  ครูและเด็กกๆทบทวนเรื่องชนิดของกล้วยอีกรอบ

หลังจากที่เพื่อนำเสนอการสอนเสร็จ อาจารย์มีกิจกรรมการทำ Cooking แล้วให้นักศึกษาทำ


Cooking 
                       
ทาโกะยากิไข่ข้าว
    เพื่อนๆออกมานำเสนอการสรุปงานวิจัย
1.เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนจิตปัญญา คลิ๊กเพิ่มเติม
ความมุ่งหมายของงานวิจัย
1.เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการวิทยาศาสคร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญาโดยรวมและจำแนกรายทักษะ
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา
ลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญาเป็นการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์ตรงโดยใช้หลักคือ1.คิดแบบปฎืบัติเด็กได้แสดงออก
2.ได้ลงมือปฎิบัติกิจกรรมต่างๆด้วยตนเองโดยครูเป็นผู้สนับสนุนให้คำปรึกษาเด็กเมื่อเด็กลงมือกระทำโดยเน้นให้เด็กมีประสบการณ์ตรงในการได้สังเกตสัมผัส 


2.เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์นอกห้องเรียนที่มีผลต่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย2540 ใช้การสังเกต-ความสามารถในการรับรู้ประสาทสัมผัสทั้ง5 คลิ๊กเพิ่มเติม 


3.เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน คลิ๊กเพิ่มเติม
ความมุ่งหมายของการวิจัย
   เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน

4.เรื่องการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาตร์ 
ความมุ่งหมายของวิจัย
1.เพื่อศึกษาระดับการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยโดยรวมและหลายด้านที่วัดก่อนหลังการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2.เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
นิยามศัพท์ 
 1.ด้านการจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถจำแนกประเภทแยกสิ่งของออกเป็นประเภทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมถูกต้องโดยยึด โครงสร้าง หน้าที่ รูปร่าง ลักษณะ คุณสมบัติเฉพาะเป็นหลักในการเปรียบเทียบเพื่อจำแนกในการจัดกลุ่มนั้นๆ ซึ่งมีทั้งจำแนกประเภทเป็นภาษาและจำแนกประเภทเป็นตัวเลขและเป็นรูปภาพที่กำหนดให้
2. ด้านการจัดประเภท หมายถึง การจัดประเภท ที่เป็นแบบทดสอบที่ให้หาสิ่งที่เป็นพวกเดียวกันกับสิ่งที่กำหนดให้ที่นิยมใช้กันคือโจทย์จะกำหนดสิ่งที่เป็นประเภทเดียวกันนั้นมีทั้งแบบที่เป็นภาษาและภาพ
3. ด้านอนุกรม หมายถึง ความสามารถในการพิจารณาสิ่งต่างๆที่เป็นเหตุเป็นผลกันและให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันกับภาพที่กำหนดให้


การนำไปพัฒนา
   จากวิจัยที่เพื่อนออกมานำเสนอ สามรถนำไปจัดการเรียนการสอนได้และการในทำ cooking วันนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการสอนในเด็กปฐมวัยในอนาคตได้


การประเมิน
ประเมินตนเอง   วันนี้มาเรียนตรงเวลาและได้ไปช่วยอาจารย์จัดเตียมอุปกรณ์เพื่อทำ Cooking ในชั้นเรียน และวันนี้เรียนแบบสนุกสนานมาก เพราะไได้ทำ ทาโกะยากิไข่ข้าว และตั้งใจฟังอาจารย์ให้คำแนะนำแก่เพื่อนที่ออกมานำเสนอการสรุปวิจัย

ประเมินเพื่อน  กิจกรรม Cooking  ทำให้เพื่อนตื่นเต้นและมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม และมีร่วมกิจกรรมภายในห้องเป็นอย่างดี มีการร่วมแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน แต่ก็มีเพื่อนบางคนก็ยังคุยกันในขณะที่เพื่อนออกมานำเสนอการสรุปวิจัย

ประเมินอาจารย์   อาจารย์มีเทคนิคต่างๆในการเรียนการสอนที่หลากหลาย และให้คำแนะนำแก่เพื่อนที่ออกมานำเสนอการสรุปวิจัย และอาจารย์ก็ให้คำแนะนำในการทำCooking แก่นักศึกษา เพื่อนำไปสอนให้แก่เด็กปฐมวัย






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น