วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ARTICLE
สรุปบทความ
รื่อง  การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คลิ๊กเพิ่มเติม
      โดยรองศาสตราจารย์ ดร.นภเนตร ธรรมบวร 


                  การฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 เริ่มต้นง่ายๆ จากการที่เด็กๆ สัมผัสกับสิ่งของ โดยเด็กๆ จะต้องพยายามใช้ประสาทสัมผัสที่ตนที่มีอยู่ในการเก็บข้อมูลของสิ่งที่เด็กๆไม่สามารถมองเห็นให้ได้รายละเอียดมากที่สุด แล้วให้ จดบันทึกข้อมูล เพื่อนำไปสู่การตั้งสมมุติฐานเมื่อเด็กๆ จดบันทึกข้อมูลตั้งสมมุติฐานพร้อมทั้งวาดภาพ ให้เด็กๆ ดูว่า สมมุติฐานที่ตนตั้งไว้นั้นถูกต้องหรือไม่ ขั้นตอนต่อไปเป็นการฝึกการแยกแยะโดยใช้ประสาสัมผัสทั้ง5 พร้อมทั้งบันทึกข้อมูล และตั้งสมมุติฐานไปด้วยในขณะเดียวกัน แล้วให้เด็กๆแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่มเกี่ยวกับสมมุติฐานที่แต่ละคนตั้งไว้ พร้อมกับตั้งคำถาม กลุ่มละ1 คำถาม คำถามของเด็กๆ มีความหลากหลายมากตั้งแต่คำถามง่ายๆ ธรรมดาๆ สามารถหาคำตอบได้โดยผ่านวิธีการที่ไม่ซับซ้อน จนถึงคำถามที่สลับซับซ้อน หลายคำถามอาจจำเป็นต้องทำการทดลอง หรือสืบค้นข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบ
          จะเห็นได้ว่าการฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 แก่เด็กนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยากเลย คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มต้นการฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 แก่ลูกได้ตั้งแต่ลูกยังอยู่ในครรภ์ โดยการใช้มือสัมผัสท้องของแม่เพื่อส่งความรู้สึกดีๆ ไปยังลูก หรือเมื่อลูกยังเล็ก การฝึกประสาทสัมผัสก็อาจเริ่มจากการหัดให้ลูกได้สังเกตสิ่งของรอบตัว หรือสิ่งที่ลูกสนใจ มีการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้ลูกได้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสให้มากขึ้น เช่น ส้มมีลักษณะพื้นผิวเป็นอย่างไร แตกต่างจากแอปเปิลหรือไม่ และถ้าแตกต่าง แตกต่างอย่างไร 
http://www.la-orutis.dusit.ac.th/images/new_head/spacer.gifหรือการกระตุ้นให้ลูกได้สังเกตธรรมชาติรอบตัวโดยผ่านการใช้คำถามอย่างง่ายๆ อาทิ ก่อนฝนตกลูกสังเกตเห็นท้องฟ้าเป็นสีอะไร และหลังฝนตก ลูกเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง เหมือนหรือแตกต่างจากก่อนที่ฝนจะตก นอกจากนั้นการที่โอบกอดลูกก็ถือเป็นการฝึกประสาทสัมผัสที่หนึ่งด้วย
                ประสาทสัมผัสถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มนุษย์มีพัฒนาการทางการคิดที่ดี และสามารถปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ดีขึ้น และเมื่อเด็กๆ ได้รับการฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 จนมีความชำนาญแล้วย่อมนำมาซึ่งทักษะการเก็บข้อมูล โดยผ่านการเปรียบเทียบความเหมือน และความแตกต่าง อันนำไปสู่การถามคำถาม หรือการตั้งปัญหาซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างผู้นำทางความคิด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น