วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่15
บันทึกอนุทิน
วัน ศุกร์ ที่ 28 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2557
เวลาเรียน 13.10 น. - 16.40 น.

เวลาาเข้าสอน 13.10 น.   เวลาเข้าเรียน 13.10 น.  เวลาเลิกเรียน 16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ 
เทคนิคในการสอนเด็กปฐมวัยที่สำคัญที่สุด คือการใช้คำถาม



แผ่นพับ สานสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียน

หน่วยกบ (FROG) กลุ่มของข้าพเจ้า

หน่วยส้ม (Orange)

หน่วยไก่ (Chicken)

หน่วยผีเสื้อ (Butterfly)

หน่วยกล้วย (Banana)

หน่วยดอกมะลิ(Jasmine)

หน่วยกะหล่ำปลี (Cabbage)

หน่วยแปรงฟัน (Toothbrush)


สิ่งที่นำไปพัฒนา 
           สามารถนำเอาการทำแผ่นพับในวันนี้ ไปใช้กับหน่วยการเรียนรูู้ ที่เราจัดการเรียนการสอน ไปให้ผู้ปกครองกับเด็กได้เพื่อให้ผู้ปกคองของเด็กได้รู้ว่า ลูกได้เรียนในเรื่องอะไร และสามารถนำการใช้คำถามที่ได้เรียนในวันนี้นำไปใช้ในอนาคตได้

การประเมิน

ประเมินตนเอง   วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์สอน เพราะเป็นคาบเรียนสุดม้าบของวิชานี้แล้ว และวันนี้ได้มีส่วนร่วมในการคิดแผ่นพับกับเพื่อนๆ และตั้งใจทำแผ่นพับของกลุ่มของตัวเอง  และร่วมแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนบรรยากาศในห้องเรียนมีแต่ความนสนุก

ประเมินเพื่อน  วันนี้เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์ และตั้งใจทำแผ่นพับของกลุ่มตัวเอง วันนี้มีเพื่อนบางคนที่ยังไม่ได้นำเสนอวิจัย อาจารย์ก็ให้โอกาสให้ออกมานำเสนอ แต่ก็เกิดข้อผิดพลาดด้านการสื่อสารทำให้วิจัยที่เพื่อนหามานั้น เพื่อนได้นำเสนอไปแล้ว

ประเมินอาจารย์  อาจารย์ให้คำแนะนำที่ดีในการทำแผ่นพับ สานสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียน เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตได้ และอาจารย์ก็ยังบอกแนวข้อสอบเกี่ยวกับรายวิชานั้นอีกด้วยและสุดท้ายอาจารย์ยังให้คำแนะนำในการใช้ชีวิตเป็นครูที่ดีในอนาคต









ครั้งที่14 
บันทึกอนุทิน
วัน ศุกร์ ที่ 21 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2557
เวลาเรียน 13.10 น. - 16.40 น.
เวลาาเข้าสอน 13.10 น.   เวลาเข้าเรียน 13.10 น.  เวลาเลิกเรียน 16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ 
        วันนี้อาจารย์ให้นำเอาของเล่นวิทยาศาสตร์ของตนเอง โดยอาจารย์ให้แยกประเภทของของเล่น ดังนี้

ประเภทแรงโน้มถ่วง

ประเภทแรงดันอากาศ/ลม

ประเภทพลังงาน

ประเภทเสียง

ประเภทน้ำ


Cooking 
วาฟเฟิล



เพื่อนออกมานำเสนอสรุปโทรทัศน์ครูและสรุปงานวิจัย

1.เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล2
ความมุ่งหมายของการวิจัย
           1.เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบานการทางวิทยาศาสตร์
           2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบานการทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนกับหลังจัดประสบการณ์
ทักษะวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ -ทักษะการสังเกต
                                          -ทักษะการจำแนก
                                          -ทักษะการวัด
                                          -ทักษะการลงความเห็น


2.เรื่อง การพัฒนาชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาลปีที่2
ความมุ่งหมาย ของการวิจัย
           1.เพื่อพัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาล2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
           2.เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
ทักษะวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ  1.ทักษะการจำแนก
                                            2.ทักษะการวัด
                                            3.ทักษะการลงความเห็น


3.เรื่อง ความสามรถในการคิดวิเคราะห์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียน คลิ๊กเพิ่มเติม
ความมุ่งหมายของการวิจัย
             1.เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน 
             2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับก่อนและหลังการจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน 


4.เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร คลิ๊กเพิ่มเติม
ความมุ่งหมายของการวิจัย
            1.เพื่อศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและร้ายด้าน ก่อนและหลังการทดลองการจัดกิจกรรม
            2.เพื่อเปรียบเทียบระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและร้ายด้าน ก่อนและหลังการทดลองการจัดกิจกรรม
ทักษะวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ   1.ทักษะการสังเกต
                                             2.ทักษะการจำแนก
                                             3.ทักษะการวัด
                                             4.ทักษะการสรุปข้อมูล


5.โทรทัศน์ครู เรื่องกิจกรรมส่องนกในโรงเรียน คลิ๊กเพิ่มเติม
               กิจกรรมการส่องนก เด็กได้สัมผัสกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายนอกห้องเรียนที่มีอยู่ให้เด็กๆได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม รู้จักแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ ได้สังเกตสิ่งที่อยู่รอบๆตัวอย่างใกล้ชิด
ทักษะวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ  1.ทักษะการสังเกต
                                            2.ทักษะการจำแนกประเภท
                                            3.ทักษะการวัด
                                            4.ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
                                            5.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล


6.โทรทัศน์ครู เรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์ คลิ๊กเพิ่มเติม
       การสอนให้เด็กมีจิตวิทยาศาสตร์ คือต้องให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต มีความรอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วน ครูที่สอนต้องมีวิธีการสอนที่ทำให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อ เรียนสนุก เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความสงสัย

              
7.โทรทัศน์ครู เรื่อง จุดประกายวิทยาศาสตร์น้อย ในหัวข้อเสียงมาจากไหน คลิ๊กเพิ่มเติม
            หลักการสอนสอนวิทยาศาสตร์ควรสอนให้เป็นเรื่องสนุก ไม่ไกลตัวเด็ก และเน้นการทดลองเพื่อให้เด็กได้ลงมือกระทำเพราะการได้ลงมือกระทำจะทำให้เด็กจำได้ไม่ลืม


สิ่งที่จะนำไปพัฒนา 
          สามารถนำเอาวิจัยที่เพื่อนนำเสนอ แต่ละกิจกรรม ไปจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กได้ในอนาคตและยังสามารถนำวิธีการสอนการท ำCooking ไปสอนเด็กได้อีกด้วย


การประเมิน 

ประเมินตนเอง  วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์บรรยายและตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู และวันนี้ข้าพเจ้าได้ออกไปนำเสนอวิจัยด้วย และได้คำแนะนำจากอาจารย์ และมีความตื่นเต้นที่ได้กิจกรรม cooking ในการทำ วาฟเฟิล วันนี้เป็นการเรียนที่สนุกมากเพราะมีกิจกรรมที่หลากหลาย

ประเมินเพื่อน   วันนี้เพื่อนตั้งใจฟังเพื่อนที่ออกไปนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู วันนี้มีกิจกรรมในการทำ วาฟเฟิล ทำให้ในชั้นเรียนมีความสนุกสนาน เพื่อนทุกคนมีความสุขในการทำวาฟเฟิล และอร่อยในการกินวาฟเฟิลของตนเอง

ประเมินอาจารย์    วันนี้อาจารย์มีเทคนิคต่างๆในการสอน  อาจารย์ให้คำแนะนำแก่คนที่ออกไปนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู และอาจารย์ก็ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำวาฟเฟิล และวิฑีการสอน การทำ cooking








THESIS
สรุปงานวิจัย

เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
Science basic skill of young children engaged in experimental activity after story listening

ผู้วิจัย    ศศิพรรณ  สำแดงเดช (พฤษภาคม 2553 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
ความมุ่งหมายของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานก่อนและหลังการทดลอง
กลุ่มตัวอย่างในการใช้วิจัย
เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2552 โรงเรียนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล)  สำนักงานจอมทอง  กรุงเทพมหานคร
เครื่องมือในการทำวิจัย
1.แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังฟังนิทาน
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ มีความเชื่อมั่น .66
นิยามศัพท์
ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถเบื้องต้นที่เป็นพื้นฐานทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3 ด้านคือ
การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุสิ่งแวดล้อม สามารถตอบข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่างๆได้ อธิบายว่าสิ่งที่สังเกตได้เป็นอย่างไร บอกความเหมือนความต่างว่าสิ่งที่สังเกตได้เป็นอย่างไร
การจำแนก หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ โดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่ง มี 3 ประการ คือ ความเหมือน ความแตกต่างและความสัมพันธ์
การสื่อสาร หมายถึง  ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การทดลองหรือจากแหล่งอื่นที่มีข้อมูลอยู่แล้วมาจัดทำใหม่โดยอาศัยวิธีการต่างๆ คือ การสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ โดยมุ่งสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายดีขึ้น
การดำเนินกิจกรรม
ครูจะเล่านิทานให้เด็กๆฟัง เมื่อฟังนิทานจบ ครูก็ให้เด็กได้ทำกิจกรรมการทดลองที่เกี่ยวกับนิทานที่ฟังที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องที่ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยการทดลองเด็กจะเป็นผู้ลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยครูจะทำเป็นตัวอย่างก่อน
ทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ อังคาร พุธ  วันละ 30 นาที (8.30 – 9.00)
ยกตัวอย่าง  นิทานเรื่อง ครึ่งวงกลมสีแดง  กิจกรรมทดลอง เรือล่ม
ครูเล่านิทานเรื่องครึ่งวงกลมเสร็จ ให้เด็กทำกิจกรรมทดลอง
อุปกรณ์ กระดาษ  ลูกแก้วหรือดินน้ำมัน  อ่างใส่น้ำ
วิธีการทำ  1.  ครูสอนเด็กพับกระดาษเป็นรูปเรือ
                 2.นำเรือไปวางไว้บนผิวน้ำในอ่าง
                 3.ครูใช้คำถาม เรือลำนี้หนักหรือเบา ลอยน้ำหรือจมน้ำ ถ้าใส่ลูกแก้วทะละลูกเรื่อยๆ เด็กคิดว่า เรื่อลำนี้จะลอยให้จะจม
                  4.ให้เด็กค่อยหย่อนลูกแก้วหรือดินน้ำมันก้อนเล็กๆลงไปในเรือกระดาษที่ลอยน้ำอยู่ ทีละก้อนจนเรือจม
                  5.แล้วครูใช้คำถามว่า ทำไมเรือนี้ถึงจม ถ้าคนลงเรือมาก เรือจะเป็นอย่างไร
สรุป
                   ผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองการที่เด็กได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน หลังการทดลองเด็กมีการพัฒนาทางด้านทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี และเมื่อจำแนกความสามารถทางทักษะทางวิทยาศาสตร์ออกเป็นรายด้าน พบว่ามีการพัฒนาในระดับดีมากคือ ด้านการสังเกต ส่วนด้านการจำแนกและการสื่อสารอยู่ระดับดี เช่นกันนั้นอาจจะเป็นไปได้ที่การจัดกิจกรรมมีหลักการสำคัญคือเด็กต้องลงมือปฏิบัติและคิดขณะทำกิจกรรมในการจัดกิจกรรมเล่านิทานดังกล่าว เด็กได้ฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ไปด้วยและได้รับความสนุกสนานและไม่เครียด เป็นผลดีต่อการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทางสังคมของแบนดูรา ที่ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการสนใจมีผลต่อการรับรู้ ถ้าเด็กมีความสนใจจะเกิดการรับรู้ได้ดีกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน เป็นการทำกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการเล่านิทานเมื่อเด็กได้ฟังนิทานจนจบเรื่อง เด็กจะได้ทำการทดลองในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิทาน เช่น นิทานครึ่งวงกลมสีแดง เด็กจะทำการทดลองเรื่อง “เรือล่ม” อุปกรณ์ที่เด็กได้รับ คือ เรือกระดาษ ลูกแก้ว ดินน้ำมันอ่างใส่น้ำ เด็กได้พับเรือกระดาษแบบง่ายๆ และตอบคำถามว่าเรือลำนี้หนักหรือเบา ลอยน้ำหรือจมน้ำเด็กจะอธิบายว่า “ลอยน้ำได้มันเบา” เด็กลองนำเรือกระดาษลอยน้ำ เด็กได้สังเกตว่า เรือกระดาษลอยน้ำได้ จากนั้นเด็กทดลองใส่ลูกแก้วลงไปในเรือทีละคน เด็กตอบคำถามว่าถ้าใส่ลูกแก้วทีละลูกเรือจะจมหรือลอยน้ำ เด็กบางคนบอกจมเพราะใส่ลูกแก้ว เด็กบางคนบอกลอยได้เพราะเคยเห็นเรือบรรทุกของตั้งเยอะไม่เห็นจม จากนั้นเด็กๆลองใส่ลูกแก้วเรื่อยๆ เด็กบอกเรือยังลอยอยู่ (เพราะลูกแก้วยังจำนวนน้อยเมื่อใส่มากเข้าเรือจมต่อหน้าเด็กๆ ในการจัดกิจกรรมการทดลองดังกล่าว เป็นการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง จากกิจกรรมทำให้เด็กสังเกตขณะที่เรือลอยและเรือจม รู้จักการจำแนกหนัก –เบา และสื่อสารบอกได้ว่าเรือจมเพราะมีลูกแก้วเยอะ เด็กได้คิดและหาคำตอบในการทดลองโดยเด็กเป็นผู้ปฏิบัติเองจากสื่ออุปกรณ์ที่ครูจัดเตรียมไว้ในแต่ละกิจกรรม เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงโดยใช้ประสาทสัมผัสเข้าไปสังเกตสื่อและอุปกรณ์ต่างๆ