วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่4

บันทึกอนุทิน
วันศุกร์ ที่ 12 เดือน กันยายน พ.ศ.2557
เวลาเรียน 13.10 น. - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00 น. เวลาเข้าเรียน 13.00น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.



ความรู้ที่ได้รับ 




กิจกรรมในชั้นเรียน เพื่อนได้ออกมานำเสนอบทความ ตามหัวข้อดังนี้ 

1.เรื่อง การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.เรื่อง วิทยาศาสตร์กับการทดลอง
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยกเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลาเพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้ด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็กควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ 1.ทักษะการสังเกต 2.ทักษะการจำแนกประเภท 3.ทักษะการวัด 4.ทักษะการสื่อความหมาย 
5.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล 6.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส , สเปสกับเวลา  7.ทักษะการคำนวณ

                                                 การทดลอง ไข่เอย..จงนิ่ม


สิ่งที่ต้องใช้
แก้ว1ใบ
ไข่ไก่1ฟอง
น้ำส้มสายชู

วิธีการทดลอง
  • นำไข่ไก่ใส่ลงไปในแก้ว
  • เทน้ำส้มสายชูลงไปให้ท่วมไข่
  • ทิ้งไว้ 1 คืน  พอตอนเช้าเทน้ำออกก็แล้วลองจับไข่ดู
เพราะอะไรกันนะ
น้ำส้มสายชูเป็นสารเคมีประเภทกรดอินทรีย์ ได้แก่ กรดน้ำส้มหรือกรดอะซิติกซึ่งสามารถละลายแคลเซียมได้ เปลือกไข่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้เปลือกไข่แข็ง  เมื่อถูกละลายหายไป เปลือกไข่จึงนิ่มกระดูกเรา ก็มีแคลเซียมช่นกัน คราวหน้าเพื่อนๆกิน KFC.แล้วเอากระดูกไก่ มาทดลองดูนะว่าเป็นอย่างไร

3.เรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย เทคนิคการเลือกและการเล่านิทาน

           
               นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป  แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย  ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
               นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่  ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้



สิ่งที่จะนำไปพัฒนา
       นำความรู้ที่ได้จากบทความไปนำไปเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยและนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปปรับใช้ในการเรียนในวิชาที่เกี่ยวข้อง


การประเมิน

ประเมินตนเอง
     วันนี้ได้ตั้งใจฟังเพื่อนที่นำเสนอบทความ และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาารย์

ประเมินเพื่อน
      เพื่อนมีความตั้งใจในการเรียน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียน โดยการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น

ประเมินอาารย์
      อาารย์ได้อธิบายขยายบทความที่เพื่อนได้นำเสนอ ให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้น โดยการใช้คำถามปลายเปิด ในการสรุปบทความ และอาารย์ยังแนะนำวิธีการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการไปปรับใช้กับเด็ก



     
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น