วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่3 

บันทึกอนุทิน
วันศุกร์ ที่ 5 เดือน กันยายน พ.ศ.2557
เวลาเรียน 13.10น.-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00 น.  เวลาเข้าเรียน 13.00น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.



ความรู้ที่ได้รับในวันนี้





กิจกรรมในชั้นเรียน เพื่อนได้ออกมานำเสนอบทความ ตามหัวข้อดังนี้

1.เรื่อง การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

              กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เป็นการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมาย  2  ประการ  คือ  การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการเรียนรู้ข้อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติรอบตัวที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน  โดยเน้นการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  คือ  1)  การสังเกต  2)  การจำแนกเปรียบเทียบ  3)  การวัด  4)  การสื่อสาร  5)  การทดลอง  และ  6)  การสรุปและนำไปใช้  สิ่งที่ได้จากการเรียนวิทยาศาสตร์คือ  การสร้างให้เด็กมีนิสัยการค้นคว้า  การสืบค้น  และการทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว  รู้จักวิธีการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์  โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ในขณะเดียวกันเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวไปด้วย

2.เรื่อง กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
         นอกจากกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กในระดับประถมศึกษาแล้ว Mad Science ยังจัดกิจกรรม
ซึ่งมีความหลากหลายสำหรับเด็กในระดับอนุบาล ( อายุ 3 – 5 ปี ) ทุกๆกิจกรรม จะแฝงด้วย
ความสนุกสนานและสาระโดยจัดเป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน ในเวลาเรียนปกติครั้งละ
ประมาณ 30 นาที เพื่อเสริมทักษะด้านการสังเกตและทักษะอื่นๆทางด้านวิทยาศาสตร์ให้เด็ก
ได้ร่วมคิดและปฏิบัติ  ทั้งนี้ Mad Science จะเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์์และผู้สอนทั้งหมด


ตัวอย่างกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล

ADVENTURES IN AIR เรียนรู้เกี่ยวกับอากาศที่อยู่รอบๆตัวเรา อากาศสามารถทำให้สิ่งของเคลื่อนที่ อากาศต้องการที่อยู่และอากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น

ANIMAL FRIENDS  สนุกกับการทายเสียงสัตว์ชนิดต่างๆ รูปลักษณะของสัตว์ที่เปลี่ยนไป เมื่อมันเจริญเติบโต เรียนรู้สิ่งที่ห่อหุ้มร่างกายของสัตว์แต่ละชนิด

COLOR LAB เรียนรู้เกี่ยวกับสีต่างๆของรุ้ง การผสมของแม่สี เด็กๆจะสนุกกับการผสมสีด้วยตนเองโดยใช้ Gel ชนิดพิเศษเพื่อนำกลับบ้าน

EYE TO EYE เรียนรู้ความสำคัญของดวงตา และสนุกกับส่วนประกอบต่างๆของตาจากแบบจำลอง ดวงตาเรียนรู้ว่าเราสามารถเห็นภาพที่มี ขนาดใหญ่ขึ้นได้โดยการมองผ่าน “ แว่นขยาย ”

KEEP IN TOUCH  เรียนรู้เกี่ยวกับประสาทสัมผัส ให้เด็กๆทราบว่าของบางอย่างเป็นอันตรายได้ถ้าเราสัมผัส และบางส่วนของร่างกายมีประสาทที่ไวต่อการสัมผัสมากกว่าส่วนอื่น

LISTEN CLOSELY  ให้เด็กๆทราบว่าเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน และเดินทางผ่านอากาศในรูปของคลื่น สนุกกับการทำเสียงด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในภาพยนต์

LIGHTS ON เรียนรู้ว่าแสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ แสงสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อส่องผ่านกระดาษสีต่างๆ ตื่นตากับการดูสีรุ้งของแสงด้วยแว่นตาสายรุ้ง

SPACE FRONTIERS สนุกกับการสร้างแบบจำลองของดาวเคราะห์ทั้งเก้าดวงในระบบสุริยะจักรวาล เล่นสนุกกับการเก็บหินจำลองบนดวงจันทร์ด้วยมือจับ

WATER WORKS เรียนรู้เรื่องการลอย การจมของวัตถุต่างๆ ศึกษาว่าวัตถุใดดูดซึมน้ำได้ดีกว่ากัน สนุกกับการทดลองแรงตึงผิวของน้ำด้วยน้ำสบู่ น้ำตาลและพริกไทย

3.เรื่อง สอนลูกเรื่องพืช  ผู้เขียน อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์

          พืช อยู่ในสาระที่ควรรู้เกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว  การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องพืช นอกจากเด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับชนิดของพืชต่างๆแล้ว ยังสามารถจัดกิจกรรมโดยใช้พืชเป็นสื่อเพื่อส่ง เสริมพัฒนาการให้กับเด็กปฐมวัยได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางด้านต่างๆ ผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมในระดับปฐมวัย

4.เรื่อง แนวทางการสอนคิด เติมวิทย์ให้กับเด็กอนุบาล


        วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็ก ๆ จริงหรือ ? ถ้าเด็ก ๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม ? ควรจะให้เด็ก ๆ อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร ? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่
       แท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

สิ่งที่จะนำไปพัฒนา
  นำเทคนิคในการสอนของอาจารย์ที่ใช้คำถามปลายเปิด ในการสอนนักศึกษาและใช้สื่อต่างๆ เช่นรูปภาพ และจะนำความรู้ที่เกี่ยวกับ การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาในเอก ที่เกี่ยวข้อง


การประเมิน
ประเมินตนเอง 
       มีความตั้งใจในการเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ร่วมตอบคำถามของอาจารย์ 

ประเมินเพื่อน
       เพื่อนๆส่วนร่วมในการตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนอย่างหลากหลาย และตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายและฟังเพื่อนที่ออกไปนำเสนอบทความ 

ประเมินอาจารย์ 
        อาจารย์ได้สอนเทคนิคในการไปใช้สอนจริงๆ และอาจารย์ได้มีเทคนิคในการสอนโดยการใช้รูปภาพเป็นสื่อ และใช้ power point ในการสอน และมีการยกตัวอย่าง ให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้น 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น