วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่5

บันทึกอนุทิน
วันศุกร์ ที่19 เดือน กันยายน พ.ศ.2557
เวลาเรียน 13.10 น.- 16.40น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.
ความรู้ที่ได้รับ
             อุปกรณ 1.กระดาษเอ4
                           2.ไม้เสียบลูกชิ้น
                                       3.เทปกาว
                                       4.สีไม้และสีเมจิค


           วิธีการทำ   1. แบ่งกระดาษเอ4 1แผ่นให้แบ่งเป็น 4คน
                             2.พับครึ่งกระดาษที่ได้มา
                             3.วาดรูปทั้ง2ด้านให้มีความสัมพันธ์กัน
                             4.นำเทปกาวไปติดกับไม้เสียบลูกชิ้นกับกระดาษด้านในด้านหนึ่ง
                             5.นำเทปกาวติดขอบข้างให้ติดกัน แล้วลองหมุนดู


         เพื่อนได้นำเสนอบทความตามหัวข้อดังนี้
1.เรื่อง สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ  ผู้เขียน อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์ 

       ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (Natural phenomena) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษย์ไม่ได้เป็นผู้สร้างขึ้น แต่มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์โดยตรง เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า รุ้งกินน้ำ กลางวัน กลางคืน ภาวะโลกร้อน รวมไปถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบางอย่างที่นานๆครั้งจะปรากฎให้เห็น เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กควรเรียนรู้ในสาระธรรมชาติรอบตัว เพื่อฝึกทักษะการคิดแบบวิทยาศาสตร์โดยผ่านกิจกรรมการทดลอง การปฏิบัติจริงจากสถานการณ์จริง หรือสถานการณ์ที่สร้างขึ้นทั้งภายในห้องเรียน และขณะอยู่กับพ่อแม่ที่บ้าน

2.เรื่อง สอนลูกเรื่องสัตว์ ผู้เขียน อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์ 

        การจัดประสบการณ์หน่วย สัตว์ อยู่ในสาระที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว เพื่อให้เด็กได้รู้จักประเภท ลักษณะ ที่อยู่อาศัย การดำรงชีวิตและประโยชน์ของสัตว์ ตลอดจนการเลี้ยงดู และการอนุรักษ์สัตว์ อีกทั้งยังส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความมีเมตตา กรุณา ความเอื้อเฟื้อ และการอนุรักษ์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของพัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจของเด็กปฐมวัย

3.เรื่อง การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่องศิลปะกับวิทย์

        เป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ผ่านการเรียนโดยการทำงานทางศิลปะ เพื่อการสื่อสาร การแสดงออกซึ่งความคิดและจินตนาการ ระบายออก ความรู้สึก จนคุ้นชินกับทักษะต่างต่าง ศิลปะ เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ แก่ เด็กเด็ก ทำให้มีจิตใจอ่อนโยน ฝึกการสังเกตุ มีจิตนาการที่ดี ใจเย็น อดทน ฝึกสมาธิ ประสาทสัมผัส เปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ และการเตรียมพร้อมให้การเรียนขั้นสูงต่อไป โดย ผู้สอน เป็น ผู้สนับสนุนและแนะนำ โดยให้ผู้เรียนจะ ฝึกทำงานและพัฒนาแต่ละชิ้นด้วยตัวเอง การเรียนศิลปะความคิดสร้างสรรค์ มิได้ เน้นเขียนให้สวยหรือเหมือน 

ความรู้ที่ได้รับจากการฟังเพลง
         ความแตกต่างที่จะสรุปไม่ได้ โดยต้องค้นหาคำตอบ ทดลอง ฝึกความคิด หาคำตอบ สรุปได้ความรู้ ต่อมาลงมือกระทำ ก็จะได้เรียนรู้ แล้วเกิดทักษะ เพลงเป็นสื่อที่สำคัญที่จะให้เนื้อหาแก้เด็ก





                   จะนำกิจกรรมที่ได้ไปสอนเด็กๆและไปประยุกต์ใช้กับวิชาที่เกี่ยวข้อง และจะนำเอาทักษะกระบวนทางวิทยาศาสตร์ทั้ง7ทักษะ ไปใช้กับเด็กปฐมวัย 

การประเมิน
ประเมินตนเอง 
   วันนี้ตั้งใจทำกิจกรรม ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย และร่วมแสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม ของอาจารย์ ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอบทความ

ประเมินเพื่อน 
      เพื่อนมีความตั้งใจในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี ตั้งใจฟังอาจารย์และร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นอย่างดี 

ประเมินอาจารย์
         อาจารย์มีเทคนิคการสอนได้น่าสนใจมากๆ มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมให้แก่นักศึกษา อธิบายและวิเคราะห้เกี่ยวกับเนื้อหาเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้น และมีการใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาได้ร่วมแสดงความคิดของตนเอง และได้ยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจยิ่งขึ้น 







              

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่4

บันทึกอนุทิน
วันศุกร์ ที่ 12 เดือน กันยายน พ.ศ.2557
เวลาเรียน 13.10 น. - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00 น. เวลาเข้าเรียน 13.00น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.



ความรู้ที่ได้รับ 




กิจกรรมในชั้นเรียน เพื่อนได้ออกมานำเสนอบทความ ตามหัวข้อดังนี้ 

1.เรื่อง การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.เรื่อง วิทยาศาสตร์กับการทดลอง
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยกเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลาเพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้ด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็กควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ 1.ทักษะการสังเกต 2.ทักษะการจำแนกประเภท 3.ทักษะการวัด 4.ทักษะการสื่อความหมาย 
5.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล 6.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส , สเปสกับเวลา  7.ทักษะการคำนวณ

                                                 การทดลอง ไข่เอย..จงนิ่ม


สิ่งที่ต้องใช้
แก้ว1ใบ
ไข่ไก่1ฟอง
น้ำส้มสายชู

วิธีการทดลอง
  • นำไข่ไก่ใส่ลงไปในแก้ว
  • เทน้ำส้มสายชูลงไปให้ท่วมไข่
  • ทิ้งไว้ 1 คืน  พอตอนเช้าเทน้ำออกก็แล้วลองจับไข่ดู
เพราะอะไรกันนะ
น้ำส้มสายชูเป็นสารเคมีประเภทกรดอินทรีย์ ได้แก่ กรดน้ำส้มหรือกรดอะซิติกซึ่งสามารถละลายแคลเซียมได้ เปลือกไข่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้เปลือกไข่แข็ง  เมื่อถูกละลายหายไป เปลือกไข่จึงนิ่มกระดูกเรา ก็มีแคลเซียมช่นกัน คราวหน้าเพื่อนๆกิน KFC.แล้วเอากระดูกไก่ มาทดลองดูนะว่าเป็นอย่างไร

3.เรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย เทคนิคการเลือกและการเล่านิทาน

           
               นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป  แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย  ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
               นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่  ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้



สิ่งที่จะนำไปพัฒนา
       นำความรู้ที่ได้จากบทความไปนำไปเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยและนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปปรับใช้ในการเรียนในวิชาที่เกี่ยวข้อง


การประเมิน

ประเมินตนเอง
     วันนี้ได้ตั้งใจฟังเพื่อนที่นำเสนอบทความ และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาารย์

ประเมินเพื่อน
      เพื่อนมีความตั้งใจในการเรียน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียน โดยการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น

ประเมินอาารย์
      อาารย์ได้อธิบายขยายบทความที่เพื่อนได้นำเสนอ ให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้น โดยการใช้คำถามปลายเปิด ในการสรุปบทความ และอาารย์ยังแนะนำวิธีการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการไปปรับใช้กับเด็ก



     
  
ครั้งที่3 

บันทึกอนุทิน
วันศุกร์ ที่ 5 เดือน กันยายน พ.ศ.2557
เวลาเรียน 13.10น.-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00 น.  เวลาเข้าเรียน 13.00น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.



ความรู้ที่ได้รับในวันนี้





กิจกรรมในชั้นเรียน เพื่อนได้ออกมานำเสนอบทความ ตามหัวข้อดังนี้

1.เรื่อง การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

              กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เป็นการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมาย  2  ประการ  คือ  การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการเรียนรู้ข้อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติรอบตัวที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน  โดยเน้นการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  คือ  1)  การสังเกต  2)  การจำแนกเปรียบเทียบ  3)  การวัด  4)  การสื่อสาร  5)  การทดลอง  และ  6)  การสรุปและนำไปใช้  สิ่งที่ได้จากการเรียนวิทยาศาสตร์คือ  การสร้างให้เด็กมีนิสัยการค้นคว้า  การสืบค้น  และการทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว  รู้จักวิธีการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์  โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ในขณะเดียวกันเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวไปด้วย

2.เรื่อง กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
         นอกจากกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กในระดับประถมศึกษาแล้ว Mad Science ยังจัดกิจกรรม
ซึ่งมีความหลากหลายสำหรับเด็กในระดับอนุบาล ( อายุ 3 – 5 ปี ) ทุกๆกิจกรรม จะแฝงด้วย
ความสนุกสนานและสาระโดยจัดเป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน ในเวลาเรียนปกติครั้งละ
ประมาณ 30 นาที เพื่อเสริมทักษะด้านการสังเกตและทักษะอื่นๆทางด้านวิทยาศาสตร์ให้เด็ก
ได้ร่วมคิดและปฏิบัติ  ทั้งนี้ Mad Science จะเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์์และผู้สอนทั้งหมด


ตัวอย่างกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล

ADVENTURES IN AIR เรียนรู้เกี่ยวกับอากาศที่อยู่รอบๆตัวเรา อากาศสามารถทำให้สิ่งของเคลื่อนที่ อากาศต้องการที่อยู่และอากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น

ANIMAL FRIENDS  สนุกกับการทายเสียงสัตว์ชนิดต่างๆ รูปลักษณะของสัตว์ที่เปลี่ยนไป เมื่อมันเจริญเติบโต เรียนรู้สิ่งที่ห่อหุ้มร่างกายของสัตว์แต่ละชนิด

COLOR LAB เรียนรู้เกี่ยวกับสีต่างๆของรุ้ง การผสมของแม่สี เด็กๆจะสนุกกับการผสมสีด้วยตนเองโดยใช้ Gel ชนิดพิเศษเพื่อนำกลับบ้าน

EYE TO EYE เรียนรู้ความสำคัญของดวงตา และสนุกกับส่วนประกอบต่างๆของตาจากแบบจำลอง ดวงตาเรียนรู้ว่าเราสามารถเห็นภาพที่มี ขนาดใหญ่ขึ้นได้โดยการมองผ่าน “ แว่นขยาย ”

KEEP IN TOUCH  เรียนรู้เกี่ยวกับประสาทสัมผัส ให้เด็กๆทราบว่าของบางอย่างเป็นอันตรายได้ถ้าเราสัมผัส และบางส่วนของร่างกายมีประสาทที่ไวต่อการสัมผัสมากกว่าส่วนอื่น

LISTEN CLOSELY  ให้เด็กๆทราบว่าเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน และเดินทางผ่านอากาศในรูปของคลื่น สนุกกับการทำเสียงด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในภาพยนต์

LIGHTS ON เรียนรู้ว่าแสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ แสงสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อส่องผ่านกระดาษสีต่างๆ ตื่นตากับการดูสีรุ้งของแสงด้วยแว่นตาสายรุ้ง

SPACE FRONTIERS สนุกกับการสร้างแบบจำลองของดาวเคราะห์ทั้งเก้าดวงในระบบสุริยะจักรวาล เล่นสนุกกับการเก็บหินจำลองบนดวงจันทร์ด้วยมือจับ

WATER WORKS เรียนรู้เรื่องการลอย การจมของวัตถุต่างๆ ศึกษาว่าวัตถุใดดูดซึมน้ำได้ดีกว่ากัน สนุกกับการทดลองแรงตึงผิวของน้ำด้วยน้ำสบู่ น้ำตาลและพริกไทย

3.เรื่อง สอนลูกเรื่องพืช  ผู้เขียน อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์

          พืช อยู่ในสาระที่ควรรู้เกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว  การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องพืช นอกจากเด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับชนิดของพืชต่างๆแล้ว ยังสามารถจัดกิจกรรมโดยใช้พืชเป็นสื่อเพื่อส่ง เสริมพัฒนาการให้กับเด็กปฐมวัยได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางด้านต่างๆ ผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมในระดับปฐมวัย

4.เรื่อง แนวทางการสอนคิด เติมวิทย์ให้กับเด็กอนุบาล


        วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็ก ๆ จริงหรือ ? ถ้าเด็ก ๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม ? ควรจะให้เด็ก ๆ อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร ? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่
       แท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

สิ่งที่จะนำไปพัฒนา
  นำเทคนิคในการสอนของอาจารย์ที่ใช้คำถามปลายเปิด ในการสอนนักศึกษาและใช้สื่อต่างๆ เช่นรูปภาพ และจะนำความรู้ที่เกี่ยวกับ การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาในเอก ที่เกี่ยวข้อง


การประเมิน
ประเมินตนเอง 
       มีความตั้งใจในการเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ร่วมตอบคำถามของอาจารย์ 

ประเมินเพื่อน
       เพื่อนๆส่วนร่วมในการตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนอย่างหลากหลาย และตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายและฟังเพื่อนที่ออกไปนำเสนอบทความ 

ประเมินอาจารย์ 
        อาจารย์ได้สอนเทคนิคในการไปใช้สอนจริงๆ และอาจารย์ได้มีเทคนิคในการสอนโดยการใช้รูปภาพเป็นสื่อ และใช้ power point ในการสอน และมีการยกตัวอย่าง ให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้น 




วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่2


บันทึกอนุทิน
วันศุกร์ ที่ 29 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557




วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนแต่เข้าร่วมกิจกรรมรับน้องอย่างสร้างสรรค์

สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมรับน้อง 
การรับน้องเป็นการสืบทอดความรู้สึกอันดีต่างๆ ของรุ่นพี่สู่รุ่นน้องที่เพิ่งเข้ามาอยู่ใหม่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ สมัครสามานให้เกิดขึ้นหมู่คณะ โดยเฉพาะในรั้วมหาวิทยาลัยที่กว้างขวางด้วยแล้ว การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อน พี่น้อง ร่วมสถาบันเดียวกัน ก็จะเป็นสื่งที่ช่วยให้แต่ละบุคคลมีความเชื่อมโยงและกว้างขวางมากขึ้นด้วย และจากการที่ภายในมหาวิทยาลัย ผู้คนที่มาล้วนมาจากพื้นที่ วัฒนธรรม หรือแม้แต่ภาษาที่แตกต่างกัน การได้รู้จักเรียนรู้และเข้าใจซึ่งกันและกัน ก็จะเป็นสิ่งที่ดีต่อบุคคลนั้นในภายภาคหน้า จึงนับได้ว่า ประเพณีรับน้อง คือปราการด่านแรกที่ช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้และเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ถ้าขาดกิจกรรมส่วนนี้ไปก้อาจจะเป็นการยากที่จะสร้างโอกาสให้นักศึกษาได้ทำความรู้จักเพื่อนร่วมคณะ หรือสถาบันเดียวกัน




ประโยชน์ของการรับน้อง
1.เกิดความสามัคคี เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
2.ให้รุ่นน้องๆเกิดความรักสถาบัน
3.ให้รุ่นน้องรู้จักรุ่นพี่ รุ่นพี่รู้จักรุ่นน้อง
4.สืบสานประเพณีที่ทำมาเป็นรุ่นๆ






ครั้งที่1  

บันทึกอนุทิน
วันศุกร์ ที่ 22 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 13.10น.-16.40น.
เวลาเข้าสอน 13.10น.    เวลาเข้าเรียน 13.00น.   เวลาเลิกเรียน 16.40 น.

     
 
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
                   วันนี้เป็นคาบแรกของการเรียนวิชานี้ อาจารย์ก็ได้อธิบายถึงรายวิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยได้อธิบายถึง ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ และมีผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ ทั้ง6 ด้าน คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม  ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคาระห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านจัดการเรียนรู้ อาจารย์ยังได้อธิบายเกี่ยวกับการบันทึกอนุทินว่าต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง


สิ่งที่จะนำไปใช้
สามรถนำเอาคำอธิบายของรายวิชานี้ไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาอื่นๆ เช่น ผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ เราก็สามารถนำไปใช้กับวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องได้


การประเมิน

ประเมินตนเอง 
ข้าพเจ้าได้ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถามในกิจกรรมในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนในห้องตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายและมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม แต่ก็มีเพื่อนบางส่วนที่ไม่ค่อยมีสมาธิ และคุยกัน

ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์มีเทคนิคในการอธิบายรายวิชานี้ให้เข้าใจง่าย โดยการยกตัวอย่างและให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นไปด้วย