วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่8 
บันทึกอนุทิน
วันศุกร์ ที 10 เดือนตุลาคม  พ.ศ.2557
เวลาเรียน 13.10 น.-16.40 น.
เวลาเข้าเรียน 13.00 น.  เวลาเข้าสอน 13.10 น.  เวลาเลิกเรียน 16.40 น.



วันนี้เป็นการสอบกลางภาคเรียน 


วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่7
บันทึกอนุทิน
วัน ศุกร์ ที่ 3 เดือน  ตุลาคม  พ.ศ.2557
เวลาเรียน 13.10 น. - 16.40 น.
เวลาเข้าเรียน 13.00 น. เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ 

         กิจกรรมประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์   แกนทิชชูมหาสนุก
                อุปกรณ์  1.แกนทิชชู    2. เชือกไหมพรม  3. กรรไกร  4. สี  5.กาว  6.ตุ๊ดตู่  7.กระดาษ 
                       วิธีทำ 

1.ตัดแกนทิชชูออกเป็น2ส่วนเท่าๆกัน 

2.เอาแกนทิชชูมาหนึ่งชิ้น แล้วเจาะรูตรงกลางทั้ง2ด้าน

3.ตัดเชือกไหมพรมประมาณ1วาแล้วสอดกับรูทั้งสองข้าง

4.ตัดกระดาษประมาณ 3x4 นิ้ว

5.วาดรูปวงกลมลงไปบนกระดาษ

6.ตัดกระดาษให้เป็นวงกลม แล้ววาดรูปตามใจชอบ 

7.นำรูปที่วาดเสร็จแล้วไปติดกับแกนทิชชูด้านใดด้านหนึ่ง 




เพื่อนออกมานำเสนอบทความหัวข้อดังนี้


         จากการจัดกิจจกรมทำเครื่องดื่มสมุนไพร เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้กระทำโดยลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง กิจกรรมจะสอนให้เด็กได้ทักษะการสังเกต เพราะเด็กจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของการทดลอง 
แล้วเกิดข้อสงสัย ทำให้เด็กได้คิดเอง และเรียนรู้ได้ตัวเอง

2.เรื่อง สอนลูกเรื่องแสงและเงา   ผู้เขียน ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง

     การสอนลูกเรื่องแสงและเงา (Teaching Children about Light and Shadow) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแสง ซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตรับรู้ได้ด้วยตา เป็นเหตุให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้และเงา ซึ่งหมายถึง รูปร่างของวัตถุที่แสงผ่านทะลุไม่ได้ ทำให้แลเห็นเป็นเงาตามรูปร่างของวัตถุนั้น
         เด็กจะได้เรียนรู้ถึงแหล่งกำเนิดแสง หรือสิ่งที่ปล่อยแสงออกมา ได้แก่
             - ดวงอาทิตย์ ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด
             - สัตว์และพืชบางชนิดมีแสง
             - การเผาไหม้ของวัตถุบางชนิด เช่น พืช แก๊ส เทียนไข น้ำมัน ฯลฯ ทำให้เกิดแสง
             - แสงบางชนิดมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น เช่น แสงไฟฟ้า ไฟฉาย กล้องถ่ายรูป ฯลฯ
แสงจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว แสงจากพืชและสัตว์บางชนิด และแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆที่คนเราทำขึ้น เช่น จากการจุดไฟ เปิดไฟฟ้า เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกและจักรวาล และเป็นประโยชน์ที่ทำให้คนเราดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะมีแสงสว่างช่วยให้คนเรามองเห็น และแสงทำให้เกิดเงา ร่มเงาก็เป็นประโยชน์สำหรับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย ได้อาศัยคลายร้อน ในขณะเดียวกัน หากไม่รู้ถึงโทษของสิ่งเหลานี้ ก็จะทำให้เกิดอันตรายจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การที่เด็กๆเพ่งมองดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงแรงจ้า ก็จะเป็นอันตรายแก่สายตา หรือการที่ปล่อยให้แสงแดดแผดเผาผิวกาย ก็เป็นอันตรายต่อผิวหนังคือ เกิดแผลไหม้เกรียม แสงอาจเกิดจากการเผาไหม้ของวัตถุเช่น เทียน แก๊ส น้ำมัน พืช แสงเหล่านี้อาจเกิดการเผาไหม้เองตามธรรมชาติ และเกิดจากมนุษย์ทำให้เกิด เมื่อเกิดแล้ว จะทำให้มลภาวะเป็นพิษในโลกนี้ ดังนั้น ธรรมชาติเรื่องแสงและเงาเป็นเรื่องใกล้ตัว อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา จึงควรได้จัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย
3.เรื่อง สอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง    ผู้เขียน ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง

            การสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง (Teaching Children about Gravity) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก มิให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้ ทั้งนี้ เด็กปฐมวัยมีนิสัยสงสัยใคร่รู้เป็นโดยธรรมชาติ การที่เด็กมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว และเกิดเรื่องราวให้ชวนคิด ชวนให้สงสัยมีมากมาย รวมทั้งคำถามว่า “อะไรที่ทำให้เรายืนอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ปลิวหายไปในอากาศ” และ “มีใครบ้างที่อยู่ใต้พื้นโลก เขาหล่นหายไปหรือไม่” คำถามของเด็กมีคำ ตอบ แต่หากผู้ใหญ่บอกเล่าเพียงให้เด็กทราบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วง การบอกเช่นนั้นไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะเด็กบอกไม่เห็นแรงโน้มถ่วง แต่หากเด็กได้มีโอกาสตรวจสอบเรื่องนี้จากกิจกรรมง่ายๆ ที่ครูหรือพ่อแม่จัดให้เด็กได้กระทำ จนเกิดเป็นความเข้าใจในเหตุและเห็นผลสอดคล้องกัน จะเป็นการส่งเสริมความคิด ทัศนคติที่ดีและเกิดทักษะที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ต่อๆไปอีกให้แก่เด็ก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กเรื่องแรงโน้มถ่วงจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้

4.เรื่อง สอนลูกเรื่องไฟฉาย      ผู้เขียน ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง

             ารสอนลูกเรื่องไฟฉาย(Teaching Children about Flashlight) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญคือ จานฉายรูปโค้งสำหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุอยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง และหลอดไฟซึ่งบรรจุอยู่ในกรอบกับสิ่งให้พลังงานก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้มักทำในรูปกระบอก ทั้งนี้เพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นเรื่องจำเป็นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ กล่าวคือเป็นผู้ที่พัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญาได้อย่างเหมาะสมตามวัย ในยุคปัจจุบันสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านเทคโนโลยี มีผลให้เกิดมีเครื่องใช้ที่จำเป็นและอำนวยความสะดวกสบายให้คนเรา ดังนั้น การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และวิธีใช้เครื่องเทคโนโลยีบางชนิดให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องจำเป็น ดังเช่น ไฟฉาย ที่คนเราสร้างสรรค์ขึ้น มา เป็นเครื่องใช้ที่ให้แสงสว่างซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการนำเรื่องไฟฉายมาจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

สิ่งที่นำไปพัฒนา 
           สามารถเอานำความรู้ที่ได้จากการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ไปสอนเด็กปฐมวัยได้เพราะเป็นสื่อที่ทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน   และนำความรู้ที่ได้จากบทความของเพื่อนที่ออกมานำเสนอไปประยุกต์ใช้กับวิชาที่เกี่ยวข้องได้

เทคนิคการสอน 
          อาจารย์ใช้วิธีการสาธิตในการทำสื่อ และให้นักศึกษาลงมือกระทำด้วยตัวเอง และใช้วิธีการอธิปราย การสร้างองค์ความรู้ และใช้คำถามป้อน และใช้ Power point เป็นสื่อในการสอน 

การประเมิน 
ประเมินตัวเอง
       มีความตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและตั้งใจประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ และร่วมแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามในชั้นเรียน ตั้งใจฟังบทความที่เพื่อนออกไปนำเสนอ 

ประเมินเพื่อน 
      เพื่อนมีความตั้งใจในการประดิษฐ์สื่อ และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและตั้งใจเพื่อนที่ออกไปนำเสนอบทความ แต่ก็มีบางคนก็ยังคุยกันเล็กน้อย ในขณะที่เพื่อนนำเสนอบทความ

ประเมินอาจารย์
       อาจารย์มีเการเตรียมสื่ออุปกรณ์ในการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ และใช้วิธีการให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเองเพื่อฝึกกระบวนการคิด และอาจารย์ยังPowerpoint เป็นสื่อในการบรรยายเกี่ยวกับแผนการจัดประสบการณ์ และยังสอนวิธีการเขียนแผน และเทคนิคต่างๆ
     







วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่6
บันทึกอนุทิน
วันศุกร์ ที่ 26 เดือนกันยายน พ.ศ.2557
เวลาเรียน 13.10 น. -16.40 น.
เวลาเข้าเรียน 13.00น.  เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.



ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

กิจกรรมการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์

           อุปกรณ์ 1.กระดาษ    2.กรรไกร  3.ที่คลิปกระดาษ

           วิธีการทำ

                                  1.ตัดกระดาษเป็นทางยาวแบ่งออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน


2.เลือกมาหนึ่งชิ้น แล้วพับลงมาครึ่งหนึ่ง


3.ใช้กรรไกรตัดกึ่งกลางจากปลายไปถึงที่พับไว้


4.พับปลายกระดาษข้างที่ไม่ได้ตัด ขึ้นมาประมาณ1เซนติเมตร


5.เอาที่ตัวคลิปหนีบกระดาษ มาหนีบไว้ตรงที่พับขึ้น 


ภาพกิจกรรมที่เอากังหันไปโยน 




สรุปจากการทำกิจกรรม
               อาจารย์ให้แถวที่1-2 ตัดกระดาษให้ถึงที่พับไว้ และให้แถว 3-5 ตับกระดาษ ให้ตัดกระดาษให้สั้นกว่าแถวที่1-2 จากนั้นอาจารย์ให้แถวที่ 1-2 ออกมาโยนหน้าชั้นเรียน สังเกตว่า ลูกยางหมุนได้ดี และตกลงถึงพื้นช้า และอาจารย์ก็ให้แถวที่3-5 ออกมาโยน สังเกตว่า ลูกยางหมุนไม่ค่อยดี และตกลงถึงพื้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ทำไมการโยนทั้งสอง มีความแตกกัน   อาจเป็นเพราะการตัดของกระดาษ เพราะแถวที่3-5 ตัดกระดาษสั้นกว่า แถวที่1-2  ปีกของแถว 3-5 เลยมีความยาวกว่า แถวที่1-2 ทำให้ การหมุนของกระดาษเลยไม่ดี อาจารย์เลยให้แถวที่3-5 ตัดกระดาษเท่า แถว 1-2 แล้วออกไปโยนใหม่ ปรากฏว่า เพื่อนแถว3-5 โยนแล้ว ลูกยางหมุนได้ดีขึ้นและตกลงถึงพื้นช้าลง การทำกิจกรรมนี้สามารถเอาไปให้เด็กทำได้ เพราะง่ายและไม่มีความซับซ้อน คลิกเพิ่มเติม ลูกยาง

เพื่อนๆออกมานำเสนอบทความหัวข้อดังนี้

       สารเคมีต่างๆที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ของกินของใช้ประจำบ้านเรา เช่น ผงซักฟอก สบู่ก้อน น้ำยาล้างจาน น้ำส้มสายชู บางอย่างก็มีความเป็นกรด(รสเปรี้ยว) บางอย่างเป็นด่าง(รสฝาด) เราสามารถทดสอบกรด-ด่างได้อย่างปลอดภัยไม่ต้องชิมรส ..ก็ของบางอย่างกินไม่ได้นี่นา เริ่มการทดลองกันเลย

ดอกอัญชันทดสอบ กรด-ด่าง

สิ่งที่ต้องใช้         
1.      ดอกอัญชัน(สีน้ำเงิน)  15 ดอก
2.      นำร้อน
3.      ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ เช่น สบู่ก้อนต้ดเป็นชิ้นเล็กๆ น้ำมะนาว ผงซักฟอก น้ำส้มสายชู น้ำยา ล้างจาน
วิธีทดลอง 
  • นำดอกอัญชันมาแช่ในน้ำร้อนสักครู่ จะสังเกตว่ามีสีน้ำเงินละลายออกมาจากกลีบดอกทิ้งไว้จนกลีบดอกซีดจึงตักขึ้น
  • นำน้ำสีน้ำเงินที่ได้แบ่งใส่แก้วใสตามจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ และอย่าลืมเหลือสีเดิมไว้เปรียบเทียบด้วยนะ
  • ติดป้ายชื่อผลิตภัณฑ์ บนแก้วแต่ละใบเพื่อจะได้ไม่สับสนตอนบันทึกผลการทดลอง
  • เติมสารเคมีที่ต้องการทดสอบ 1 ช้อนชา ลงไปในแก้วแต่ละใบ แล้วคนให้เข้ากัน

2.เรื่อง เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ

        วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น เราสามารถเก็บข้อมูลได้มากมายเรียกใช้ข้อมูลประมวลความรู้และสื่อสารข้อมูลไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากเครื่องคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ช่ายให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความตระหนักมากขึ้นและพยายามที่เขียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล

3.เรื่อง สอนลูกเรื่องอากาศ  ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง

         การสอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about weather) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง อากาศมีอยู่ในบ้านและบริเวณ มีอยู่ในโรงเรียน บริเวณรอบโรง เรียน กลางป่า เขา ชายทะเล แม่น้ำ น้ำตก สวน และอื่นๆ
         เด็กปฐมวัยเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด คำถามที่น่าสนใจของเด็ก จึงควรนำมาจัดเป็นกิจ กรรมเรียนรู้สำหรับเด็ก เรื่องอากาศ เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก และเมื่อเด็กได้รับการตอบสนองให้สืบค้นหาคำตอบ เด็กจะรู้สึกสบายใจที่ได้รับการตอบสนอง จึงเป็นการพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็กอีกด้วย
4.เรื่อง การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ผู้เขียน มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ
          วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน 
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย

5.เรื่อง ฝึกทักษะสังเกตสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
             ธรรมชาติของเด็กๆ นั้น มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งรอบตัวตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด หากเด็กได้รับการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับธรรมชาติของเขา จะทำให้ศักยภาพในการเรียนรู้ของเขาพัฒนาได้เต็มที่  ทักษะการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์นับเป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กๆ  สามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้  สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเขา
               ทักษะการสังเกตเป็นหนึ่งในทักษะขั้นพื้นฐานและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์  การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ เพื่อต้องการรู้รายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ ที่จะนำมาซึ่งการเรียนรู้ที่มากขึ้นและเด็กจะเก็บเป็นข้อมูลหรือประสบการณ์ต่อไป  จึงพูดได้อีกอย่างว่าสำหรับสำหรับเด็กๆ แล้วการสังเกตจะเกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้านั่นเอง  และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่าในที่สุด


แผนการจัดการประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 
หน่วยการเรียนรู้ของกลุ่มเพื่อนๆ

หน่วยการเรียนรู้ของข้าพเจ้าคือ เรื่อง กบ (Frog)

แก้ไขเพิ่มเติม


สิ่งที่จะนำไปพัฒนา
         นำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับจัดกิจกรรมไปใช้กับเด็ก และในการทำกิจกรรมกับเด็ก เราควรเป็นผู้แนะนำและอำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก แต่ให้เด็กลงมือปฏิบัติ ด้วยตัวของเด็กเอง 

เทคนิคการสอน
         อาจารย์ให่้นักศึกษาหาคำตอบ และเรียนรู้ด้วยตัวเองก่อน และถ้ายังไม่รู้ ก็ใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้น ให้นักศึกษาคิด 

การประเมิน 
ประเมินตัวเอง
         วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย ร่วมแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามของอาจารย์ และตั้งใจประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ที่อาจารย์ให้ทำ มีความสนุกสนานในการประดิษฐ์   ตั้งใจฟังบทความที่เพื่อนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน เข้าใจวิธีการเขียน Mind map  แผนการจัดประสบการณ์ 

ประเมินเพื่อน 
      เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในห้อง ตั้งใจประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์กัน ตั้งใจฟังเพื่อนที่ออกมานำเสนอบทความ และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเรื่อง mind map

ประเมินอาจารย์ 
         อาจารย์มีการเตรียมสื่ออุปกรณ์การประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ให้แก่นักศึกษา และอาจารย์ยังมีเทคนิคในหารอธิบายเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจง่ายมากขึ้น โดยให้นักศึกษาได้ร่วมตอบคำถาม และอาจารย์ได้ยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธรการสอนเด็ก
ปฐมวัย